จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การพึ่งพาอาศัยกัน


การพึ่งพาอาศัยกัน
การพึ่งพา  การแข่งขัน  การขัดแย้ง  และการประสานประโยชน์กันเป็นปกติในวิสัยของมนุษยชาติ  เนื่องจากสังคมมนุษย์ได้พัฒนาขึ้น มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์ สิ่งแวดล้อม  ผลประโยชน์  ความเชื่อ  และวัฒนธรรมประเพณี  จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันของมนุษย์ที่อยู่ในโลก  และ  การร่วมมือกันระหว่างประเทศ  เพื่อประโยชน์ของประชากรของแต่ละประเทศ  ซึ่งองค์กร ความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งพากัน  และการประสานประโยชน์ ร่วมกัน  ซึ่งผลขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามารถสรุปได้ดังนี้
ความขัดแย้ง    
            สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งของประเทศต่างๆได้แก่  การแข่งขันกันทางอาวุธ  และความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์และสังคมวัฒนธรรม  ตลอดจนผลประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจ  ซึ่งความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจ  เกิดมาจากการที่แต่ละประเทศมีทรัพยากร เพื่อการผลิตสินค้าและบริการที่ไม่เหมือนกัน และการจัดสรรทรัพยากรของแต่ละประเทศ มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน  รวมทั้งการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด   จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้ง กันในระหว่างประเทศได้  ตลอดจนอุดมการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ  ผู้นำประเทศของแต่ละประเทศ ที่ต้องการรักษาความมั่นคงให้เกิดขึ้นแก่ประเทศตน  และทำให้ประชาขนของตนได้กินดีอยู่ดี  แต่โดยทั่วไปแล้ว  ประเทศต่างๆย่อมมีความอุดมสมบูรณ์  และทรัพยากรที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ ไม่เท่าเทียมกัน  และไม่เพียงพอต่อความต้องการ  จึงทำให้มีการใช้กำลังเข้าบุกรุก  ขับไล่  และละเมิดอธิปไตยของประเทศอื่น  เพื่อตนจะได้เข้าครอบครองความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร นั้น  อันจะช่วยให้ประชาชนของประเทศตนได้อยู่ดีกินดี  ทำให้เกิดความขัดแย้ง  และเกิดกรณี พิพาทขึ้น  ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี  อันมีสาเหตุมาจากการแข่งขันกัน เข้าไปครอบครองดินแดนอัลซาสและลอเรน  ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็ก และถ่านหินที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม สงครามในครั้งนี้นับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไป สู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  สงครามอ่าวเปอร์เซียระหว่างอิรักและกองกำลังสหประชาชาติ  ในกรณีที่อิรักเคลื่อนกำลังเข้ายึดครองคูเวต  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลในเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้  เป็นต้น
            นอกจากนี้  ยังต้องการดำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศ  ซึ่งได้แก่  ความอยู่รอด  ความมั่นคง  และศักดิ์ศรีของชาติ  เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้อง  คุ้มครอง  และรักษาไว้  เพื่อให้ประชาชนของประเทศมีความปลอดภัย  มีสันติสุข  และอยู่ดีกินดี  หากมีเหตุการณ์ ที่บ่งชี้ว่าจะกระทบกระเทือนผลประโยชน์ดังกล่าว  รัฐบาลของประเทศนั้นๆก็จะต้องมีปฏิกิริยา ต่อต้านและตอบโต้  ซึ่งย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ ซึ่งความขัดแย้งทางด้านทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ  ก่อให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  และเกิดประโยชน์ แก่ประชาชนภายในประเทศมากที่สุด
การประสานประโยชน์       
            การประสานประโยชน์เป็นการร่วมมือเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตน  ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการระงับกรณีพิพาทที่มาจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  การประสานประโยชน์มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม  อันเป็นการรักษาผลประโยชน ์ร่วมกันของทุกฝ่าย  ซึ่งจะสามารถหลักเลี่ยงความขัดแย้ง  ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่ต่างก็เผชิญอยู่ และพึ่งพาอาศัยและแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้นทาง ด้านเทคโนโลยีการผลิต  กระบวนการ ผลิต  ความรู้ทางด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิต สินค้าและบริการ  เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนภายในประเทศ  ซึ่งการประสาน ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะอยู่ในรูปของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ของประเทศต่างๆให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  เช่น  การค้าแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตกันระหว่าง ประเทศ  เป็นต้น  และการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจยังเป็นการลดความขัดแย้งกันในทาง เศรษฐกิจและเป็นกำลังที่สำคัญ ในการต่อรองด้านการค้าระหว่างประเทศ  ซึ่งประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  ได้แก่  สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งเป็นองค์กรที่รักษาผลประโยชน์แก่ประเทศ สมาชิกในด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งประเทศไทยก็เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว  นอกจากนี้  ประเทศไทยยังเข้าร่วมกับองค์กรทางเศรษฐกิจขององค์การสหประชาชาติ  ทำให้ไทยได้รับ ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อยกประดับความเป็นอยู่ของประชาชน  ได้รับ ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน  ด้านบุคลากร  เทคโนโลยี  และวิธีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของไทย  นอกจากนี้  ไทยยังได้อาศัยองค์การต่างๆเหล่านี้  เช่นองค์การการค้าโลก  เป็นเวทีที่จำนะเสนอหรือเรียกร้องให้การค้าระหว่างประเทศเป็นธรรม  หรือลดการเอารัด เอาเปรียบไทยได้บ้าง และเมื่อไทยประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงใน พ.ศ. 2540 – 2541  ไทยก็ได้อาศัยเงินช่วยเหลือที่องค์การการเงินระหกว่างประเทศให้กู้ยืมมา  ดังนั้น  การประสานประโยชน์กันในรูปขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศสมาชิกได้รับ ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ตลอดจนการส่งเสริมให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสมาชิก
การพึ่งพากัน    
การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ  ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม  ยิ่งกว่านั้น  เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น  ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งระบบการค้า  มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ  อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ  ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น  มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย  ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน  ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ  เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้  เช่น  ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว  และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน  เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้  กล่าวคือ  ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช  อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล  และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต  ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น  ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย  ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ  ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้
การแข่งขัน    
            ในสภาวการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน  ประเทศต่างๆมีการแข่งขันทางด้านการค้าระหว่าง ประเทศ  และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตลาดให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน  ตลอดจนความ ได้เปรียบของประเทศที่สามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณน้อย  แต่มูลค่าของสินค้าสูง  ซึ่งจะเป็น สินค้าเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสินค้าอุตสาหกรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศ ที่มีผลผลิตส่งออกไปขายต่างประเทศในรูปของสินค้าเกษตรกรรม  ซึ่งมีมูลค่าน้อยทำให้เกิดความ ได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น  จึงเป็นต้นเหตึให้เกิดการรวมตัวหรือรวมกลุ่มทางการค้าขึ้น  โดยจัดตั้งเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะได้มีอำนาจต่อรองทางการค้า กับประเทศคู่ค้า  ซึ่งประเทศใดมิได้รวมกลุ่มทางการค้า  ย่อมทำให้ประเทศนั้นไม่สามารถแข่งขัน กับประเทศอื่นๆได้  ทำให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจล่าช้าไม่ทันกับประเทศอื่น  นอกจากนี้ความล้าหลังของผลผลิตและความไม่ทันยุคสมัยก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการแข่งขันระหว่างประเทศ  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1980 ที่ผู้ผลิตรถยนต์ภายในประเทศไม่สามารถ แข่งขันรถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ  อันเนื่องมาจากมูลค่าของรถยนต์ต่างประเทศ มีมูลค่าต่ำกว่าภายในประเทศ  เป็นต้น  ดังนั้น  การร่วมมือกันในการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจจะช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถ แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ  และมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตภายในองค์กร  ทำให้ประเทศสมาชิกไม่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศนอกองค์กร  ทั้งยังสามารถต่อรองการค้ากับประเทศคู่ค้าได้  นอกจากนี้การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านการค้า  ส่งผลให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ  เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
คุณธรรมและการรู้เท่าทัน    
            ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าในระดับสูง  ทำให้แต่ละประเทศต้องหา นโยบายและมาตรการต่างๆในการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ  ซึ่งบางมาตรการส่งผลกระทบ ต่อประเทศอื่นๆ  ทำให้ประเทศเหล่านั้นไม่สามารถแข่งขันหรือทำการค้าได้  เช่น  มาตรการ กำหนดกำแพงภาษี  ซึ่งเป็นการกีดกันสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ  และทำให้สินค้ามี ราคาสูงขึ้น  ไม่สามารถขายภายในประเทศได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเอารัดเอาเปรียบ กับประเทศเหล่านั้น  เพราะบางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศ ในรูปของสินค้าภาคเกษตร  แต่บางประเทศส่งสินค้าออกขายยังต่างประเทศในรูปของสินค้า ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีมูลค่าที่สูงกว่า  ย่อมเป็นการเอาเปรียบกับประเทศคู่ค้าที่เป็น สินค้าเกษตรกรรม  ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  โดยจัดตั้งเป็นองค์กร การร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศที่เสียเปรียบทางการค้า  ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการค้าระหว่างประเทศ  และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในการร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก  นอกจากนี้ยังช่วยให้การค้าระหว่างประเทศ มีศักยภาพมากขึ้น  กล่าวคือ  เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการมีความก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น  ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง  เมื่อประเทศต่างๆมีการร่วมมือทาง เศรษฐกิจกันแล้วย่อมเกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน  ทำให้ประเทศสมาชิกมี การผลิตสินค้าและบริการที่สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆที่อยู่นอกองค์กรได้  ส่งผลให้ เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีการเจริญเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น